ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “เรื่องสำคัญที่ควรรู้”

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “เรื่องสำคัญที่ควรรู้”

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีรายได้เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด ควรยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีให้ถูกต้อง+++

มาทำความเข้าใจกันต่อ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่ 1. เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง 3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด  ***หมายเหตุ ที่ได้รับจริง (เกณฑ์เงินสด)

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง ?

  1. ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น (กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) ผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
  2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไปเว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปีสำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมสรรพากร” หัวข้อเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แหล่งที่มา :  http://www.rd.go.th/publish/309.0.html

Leave a Reply